เทคนิคทำสไลด์ พรีเซนต์งาน ที่ใครเห็นก็ต้องอิจฉา

เทคนิคทำสไลด์ พรีเซนต์งาน ที่ใครเห็นก็ต้องอิจฉา

เทคนิคทำสไลด์ พรีเซนต์งาน ที่ใครเห็นก็ต้องอิจฉา

ใครกำลังจะทำพรีเซนท์นำเสนอผลงานกับหัวหน้าหรือไปเสนองานลูกค้าไหมคะ เรามีหลักการดี ๆ สำหรับการทำพรีเซนท์ให้น่าสนใจและมีคุณภาพกันค่ะ

Table of Contents

จำนวนสไลด์

พยายามทำให้จำนวนหน้าของสไลด์น้อยที่สุด ยิ่งจำนวนหน้าเยอะ คนฟังก็ยิ่งสนใจน้อยลง

น้อยแต่มีคุณภาพดีกว่าค่ะ

 

ฟอนต์ตัวอักษร

เลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย สามารถอ่านได้จากไกล ๆ หลีกเลี่ยงฟอนต์ที่ตัวแคบ ๆ หรือฟอนต์ลูกเล่น สำหรับเนื้อหายาว ๆ เพราะอ่านยาก

พยายามใช้ฟอนต์เดียวกันทั้งสไลด์ หรือถ้าอยากสร้างลูกเล่น ก็ไม่ควรเกิน 3 ฟอนต์ เยอะไป มันก็รกเหมือนกันนะ

Image link

ฟอนต์ที่ไม่มีเชิง (Sans Serif Font) เหมาะกับการนำเสนอผลงาน มากกว่าฟอนต์ที่มีเชิง (Serif Font) แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมด้วยนะ

ฟอนต์ไม่มีเชิง จะให้ความรู้สึกทันสมัย เรียบง่าย เหมาะกับการใช้งานในเว็บหรือในคอมพิวเตอร์ และเหมาะกับขนาดตัวอักษรตัวเล็กมากกว่า

ตัวอย่างฟอนต์ไม่มีเชิง

Image link
Image link
Image link

ส่วนฟอนต์มีเชิง จะให้ความรู้สึกอบอุ่น ดั้งเดิม เหมาะกับข้อความยาว ๆ และเอกสารที่ต้องพิมพ์ออกมา เพราะอ่านง่าย

ตัวอย่างฟอนต์มีเชิง

Image link
Image link
Image link

ขนาดตัวอักษร

ใช้ขนาดตัวอักษรที่เหมาะสม ไม่เล็กเกินไป อ่านได้ง่าย

ใช้ขนาดตัวอักษรในการเน้น Keywords ก็ได้

Image link

มาดูกันว่า ตัวอักษรแต่ละขนาด จะอ่านได้ไกลแค่ไหน

ตัวอักษรขนาด 1 นิ้ว สามารถอ่านได้ไกล 10 ฟุต หรือประมาณ 3 เมตร
ตัวอักษรขนาด 2 นิ้ว สามารถอ่านได้ไกล 20 ฟุต หรือประมาณ 6 เมตร
ตัวอักษรขนาด 3 นิ้ว สามารถอ่านได้ไกล 30 ฟุต หรือประมาณ 9 เมตร

ข้อความ

ใช้ประโยคสั้น ๆ หรือ ทำเป็นข้อ ๆ ก็ได้ โดยพยายามให้แต่ละข้อไม่เกิน 1 บรรทัด จะได้อ่านง่าย ๆ

แต่ละสไลด์ก็ไม่ควรมีหลายบรรทัด ประมาณ 5 บรรทัดก็พอ ไม่งั้นคนฟังจะสนใจข้อความในสไลด์มากกว่าฟังที่เรานำเสนอ

กราฟฟิก

ใช้กราฟฟิกเข้ามาช่วยในการอธิบายเนื้อหา แต่ก็ไม่ควรใช้มากเกินไป

Image link

สี

เลือกสีพื้นหลังและตัวอักษรให้เหมาะสม

ระวังไม่ให้สีตัวอักษรใกล้เคียงกับสีพื้นหลัง ไม่งั้นจะอ่านไม่ออก

Image link

พื้นหลังสีอ่อน ตัวอักษรควรสีเข้ม หรือ พื้นหลังสีเข้ม ตัวอักษรก็ควรสีอ่อน

Image link

รูปแบบสไลด์

ควรเลือกรูปแบบหรือตีมของสไลด์ที่เข้ากับเนื้อหา และไม่ควรเด่นเกินเนื้อหา เดี๋ยวคนจะดูแต่สไลด์ แต่ไม่สนใจเนื้อหานะ เรียบง่ายเข้าไว้

ความถูกต้อง

อย่าลืมเช็คความถูกต้องของตัวสะกด ไวยากรณ์ รวมไปถึงความถูกต้องของเนื้อหาด้วย ผิดขึ้นมาแย่เลย

อย่าลืมนำหลักการดี ๆ ในการทำพรีเซนต์ไปใช้กันนะ จะได้พรีเซนต์งานดี ๆ แฮปปี้ทั้งคนพรีเซนต์และคนฟัง นอกจากนี้เรายังมีตัวช่วยในการทำพรีเซนต์มาแนะนำกันด้วย ลองนำไปใช้กันดูนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.garrreynolds.com/preso-tips/design/

https://support.office.com/en-us/article/Tips-for-creating-and-delivering-an-effective-presentation-f43156b0-20d2-4c51-8345-0c337cefb88b

http://mashable.com/2013/08/19/presentation-apps/#iKYE61U.UOq4

[Infographic] ข้อแตกต่างระหว่างฟอนต์ Serifs กับ Sans Serifs

ขอบคุณภาพจาก

https://www.pinterest.com/

10 วิธีการใช้ Font ในงานออกแบบสำหรับมือใหม่ (มีภาพประกอบ)

http://www.fontsquirrel.com/fonts/